วันจันทร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2557

การรำคล้องหงส์ หรือ โนราคล้องหงส์

โนราคล้องหงส์

การรำคล้องหงส์ หรือ  โนราคล้องหงส์


            การรำคล้องหงส์ ใช้รำเฉพาะในพิธีครอบเทริดหรือผูกผ้าใหญ่และพิธีเข้าโรงครูเท่านั้น เพื่อให้พิธีสมบูรณ์ในการรำใช้ผู้รำ ๘ คน โดยโนราใหญ่เป็น พญาหงส์” โนราคนอื่น ๆ อีก ๖ คนเป็นหงส์ และผู้รำเป็นพราน ๑ คน วิธีรำสมุมติท้องเรื่องเป็นสระอโนดาต จากนั้นจึงร้องบททำนองกลอนพญาหงส์ ตอนที่หงส์กำลังร้องกลอนบททำนองพญาหงส์ 


(ตัวอย่างทำนองพญาหงส์ โดย ธรรมนิตย์  นิคมรัตน์)

               พรานจะออกมาด้อม ๆ มอง ๆ เพื่อเลือกคล้องพญาหงส์ พอจบกลอนพรานเข้าจู่โจมไล่คล้องหงส์ ดนตรีเชิด หงส์วิ่งหนี เป็นรูป ยันต์เต่าเลือน” นายพรานไล่คล้องได้พญาหงส์ พญาหงส์ใช้สติปัญญาจนสามารถหลุดพ้นจากบ่วง เป็นการจบการรำ เชื่อกันว่าการรำคล้องหงส์ในโรงครูทั้งตัวพญาหงส์คือโนราใหญ่และผู้แสดงเป็นพราน มีครูโนราเข้าทรงด้วย

(ภาพโนราคล้องหงส์ โดย ศรุต รักดี)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น